ประวัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว 

          เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 กฟผ. ได้รับหนังสือจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ กค.0303/890 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 เรื่อง ขอความร่วมมือให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผวก. จึงมอบหมายให้ รวก. ดำเนินการ โดยในขั้นแรกได้เชิญหน่วยงานต่างๆของ กฟผ. ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิจารณาเปรียบเทียบผลดีผลเสียของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับกองทุนสงเคราะห์ ซึ่งสรุปการประชุมได้ว่าควรจะตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาโดยละเอียด ดังนั้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2536 กฟผ. จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผลจากการศึกษาเห็นว่าสมควรจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากเป็นระบบที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยตรง เป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงาน ส่งเสริมการออมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงเพื่อโอกาสช่วงหน้าเมื่อต้องพ้นจาก กฟผ.ไป รวมทั้งจะเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากนั้นในวันที่ 7 เมษายน 2537 คณะทำงานได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าเป็นสมาชิก อัตราเงินสะสมและเงินสมทบ ตลอดจนวิธีการโอนเงินกองทุนสงเคราะห์เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดย ผวก. ได้ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว และได้นำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับอนุมัติในหลักการให้ กฟผ. ดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ในวันที่ 20 เมษายน 2537 ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2537 โดย กฟผ. ได้ดำเนินการขอจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. กับกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2537 และเพื่อให้การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กฟผ. ได้ออกคำสั่งที่ ค.56/2537 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2537 แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่างข้อบังคับกองทุน กฟผ. และกำหนดแนวนโยบายอื่นๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบถึงสิทธิประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติงานสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยคณะกรรมการประกอบด้วย

คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ.

1.  รองผู้ว่าการฝ่ายบัญชีและการเงิน

ประธานคณะกรรมการ

2.  ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายบัญชีและการเงิน

รองประธานคณะกรรมการ

3.  ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายบำรุงรักษา

กรรมการ

4.  ผู้ช่วยผู้ว่าการฝ่ายบุคคล

กรรมการ

5.  ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

กรรมการ

6.  ผู้อำนวยการฝ่ายระบบและระเบียบงาน

กรรมการ

7.  ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี

กรรมการ

8.  ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน

กรรมการ

9.  ผู้อำนวยการฝ่ายการพนักงาน

กรรมการ

10. ผู้อำนวยการฝ่ายกฏหมาย

กรรมการ

11. ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์

กรรมการ

12. นายประสิทธิ์ ตรีสรานุวัฒนา

กรรมการและเลขานุการ

13. หัวหน้ากองระเบียบปฎิบัติ

ผู้ช่วยเลขานุการ

   

 คณะทำงานร่างข้อบังคับและประชาสัมพันธ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ.

1.  นายประสิทธิ์ ตรีสรานุวัฒนา

ประธานคณะทำงาน

2.  นายชาญชัย เจียมจตุรพัฒพร

รองประธานคณะทำงาน

3.  นายชโลทร หาญศักดิ์วงศ์

คณะทำงาน

4.  นายกมล ศรีศาสตรา

คณะทำงาน

5.  นายนภดล ริ้วเจริญ

คณะทำงาน

6.  นางยศพิณ สิริเวชชะพันธ์

คณะทำงาน

7.  น.ส.สมพร หาญบุญธรรม

เลขานุการ

   

          
       ภายหลังจากคณะกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าว ได้พิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำร่างข้อบังคับและแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้ว ประกอบกับ กฟผ. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ ดังนั้นเพื่อให้มีบุคคลเข้ามาดำเนินการและรับผิดชอบ ซึ่งมาจากผู้ปฏิบัติงานของแต่ละสายงาน ในวันที่ 16 สิงหาคม 2537 กฟผ. ได้ออกคำสั่งที่ ค. 66/2537 จัดตั้งคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ. ประกอบด้วยคณะกรรมการจากการแต่งตั้งของฝ่ายบริหาร 9 ท่าน และคณะกรรมการซึ่งมาจากการเลือกตั้งของผู้แทนสายงาน 8 ท่าน เพื่อดำเนินการพิจารณาร่างข้อบังคับ แต่งตั้งผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนกองทุน บริหารกองทุน ควบคุม ดูแลการดำเนินการทั่วไปของกองทุน กำหนดนโยบายและแนวทางการประชาสัมพันธ์ และคณะทำงานประชาสัมพันธ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ. 11 ท่าน เพื่อประชาสัมพันธ์ระบบงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วย

คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ.

1.  นางพิมลศรี ศิริไพบูลย์

ประธานกรรมการ

2.  นายสุจินต์ วังไพบูลย์

รองประธานกรรมการ

3.  นายโอภาส จันทน์พยอม

กรรมการ

4.  นายปัญจะ เปี่ยมพงศ์สานต์ 

กรรมการ

5.  นายสุพล เอื้ออนันต์

กรรมการ

6.  นายวุฒิ ปุ่นอุดม

กรรมการ

7.  นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์

กรรมการ

8.  นายจำลอง อุชุโกมล

กรรมการ

9.  นายประสิทธิ์ ตรีสรานุวัฒน์

กรรมการ

10. นายจำนง ชมภูพล

กรรมการ

11. นายอำนาจ สุชาโต

กรรมการ

12. นายปวุติ นันทสำเริง

กรรมการ

13. นายถาวร บุณยรัตพันธุ์

กรรมการ

14. นายพิชิต กองคำ

กรรมการ

15. นายสำรอง คุ้มโต

กรรมการ

16. นายบุญชู ดิเรกสถาพร

กรรมการและเลขานุการ

17. นายดำรง หุ่นเจริญ

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

   

 

คณะทำงานประชาสัมพันธ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ.

1.  นายประสิทธิ์ ตรีสรานุวัฒนา

ประธานคณะทำงาน

2.  นายชาญชัย เจียมจตุรพัฒพร

รองประธานคณะทำงาน

3.  นายชโลทร หาญศักดิ์วงศ์

คณะทำงาน

4.  นายกมล ศรีศาสตรา

คณะทำงาน

5.  นาย ปวุติ นันทสำเริง

คณะทำงาน

6.  นายนภดล ริ้วเจริญ

คณะทำงาน

7.  นางยศพิณ สิริเวชชะพันธ์

คณะทำงาน

8.  นายพิชิต กองคำ

คณะทำงาน

9.  นายสำรอง คุ้มโต

คณะทำงาน

10. น.ส.รัชดาพร เสียงเสนาะ

คณะทำงาน

11. น.ส.สมพร หาญบุญธรรม

คณะทำงานและเลขานุการ

   

        
       การดำเนินการของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยได้จัดทำข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2537 สำหรับการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนนั้น เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 คณะกรรมการกองทุนได้ดำเนินการคัดเลือกผู้จัดการกองทุน โดยการส่งเอกสารขอบเขตงานของผู้จัดการกองทุน (TERMS OF REFERENCE) หรือ TOR ให้กับบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำนวน 17 บริษัท ซึ่งมีบริษัทที่เสนอเงื่อนไขมา 10 บริษัท คณะกรรมการได้พิจารณาเงื่อนไขที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อกองทุนมากที่สุด และในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2537 คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีมติให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนสยาม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ถึง 31 ธันวาคม 2539 สำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนประจำปี 2538 คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้พิจารณาเลือกโดยวิธีการประกวดราคา และได้บริษัทที่เสนอเงื่อนไขดีที่สุด คือ บริษัทไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์ จำกัด ในด้านการประชาสัมพันธ์ได้ รับความสนใจจากผู้ปฏิบัติงานสมัครเข้าเป็นสมาชิกในช่วงแรกถึง 31,796 คน จากนั้นคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ดำเนินการขอจดทะเบียนกับกระทรวงการคลัง ซึ่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ. ได้รับการจดทะเบียนเข้าเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ใช้ชื่อว่า "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" ทะเบียนเลขที่ 1/2538 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดยเงินโอนเข้ากองทุนงวดแรกเป็นจำนวนเงินประมาณ 7,123 ล้านบาท

        สำหรับผลงานที่สำคัญของคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปี 2538 ได้แก่ การขอยกเว้นภาษีเงินได้ ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้สมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพเนื่องจากเกษียณอายุ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่ถึง 5 ปีจะต้องเสียภาษีเงินได้ คณะกรรมการกองทุนได้พิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ของสมาชิกกองทุน กฟผ. และพยายามดำเนินการเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว จนสามารถทำให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. ได้รับการยกเว้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกษียณอายุก่อนปี พ.ศ. 2543 และสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2538 สำหรับผลการบริหารกองทุนประจำปี 2538 ได้ผลตอบแทนเท่ากับ 12.08 % โดยคณะกรรมการชุดนี้ได้หมดวาระการทำงานเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2539

       หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2539 กฟผ. ได้ออกคำสั่งที่ ข.73/2539 แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน กฟผ. ชุดใหม่ โดยเป็นคณะกรรมการที่มาจากการแต่งตั้ง จากฝ่ายบริหาร 9 ท่าน และคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้แทนหน่วยงานระดับฝ่าย ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 8 ท่าน ซึ่งประกอบด้วย

1. นางพิมลศรี ศิริไพบูลย์

ประธานกรรมการ

2.  นายศิริวัฒน์ ศรีพิพัฒน์

รองประธากรรมการ

3.  นายวุฒิ ปุ่นอุดม

กรรมการ    

4.  นายวิฑูรย์ สกนธวัฒน์

กรรมการ

5.  นายไกรสีห์ กรรณสูต

กรรมการ

6.  นายสุพจน์ ตันตยาคม

กรรมการ

7.  นายอุดม ธุววงศ์       

กรรมการ

8.  ม.ล.ชนะพันธุ์ กฤดากร

กรรมการ

9.  น.ส.สุรพีร์ โหมานันท์

กรรมการ

10. นายเรวัตร สุวรรณกิตติ

กรรมการ

11. นายธารี บุณยรัตพันธุ์

กรรมการ

12. ร.ท.ทักษิณ ลิ่มสุวรรณ์

กรรมการ

13. นายปวุติ นันทสำเริง

กรรมการ

14. นายกมล ศรีศาสตรา

กรรมการ

15. นางวราภรณ์ ชาตรูปะวณิช                       

กรรมการ

16. นายพิชิต กองคำ

กรรมการ

17. นายดำรง หุ่นเจริญ

กรรมการและเลขานุการ        

   


    การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2539 รวบ. ในฐานะประธานกรรมการกองทุน ได้เสนอให้จัดตั้งส่วนจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้น เพื่อช่วยประสานงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทนคณะกรรมการกองทุน สำหรับผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนประจำปี 2539 ได้ดำเนินการต่อสัญญากับบริษัท ไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์ จำกัด ให้ปฏิบัติงานสอบบัญชีกองทุนอีก 1 ปี การบริหารกองทุนประจำปี 2539 ได้ผลตอบแทนเท่ากับ 11.02 %

        ในช่วงเดือนตุลาคม 2540 มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากเกษียณอายุจาก กฟผ. จำนวน 2 ท่าน และลาออกจากกรรมการกองทุน จำนวน 2 ท่าน คือ

1.  นางพิมลศรี ศิริไพบูลย์

เกษียณอายุ

2.  นายวุฒิ ปุ่นอุดม

เกษียณอายุ

3.  นายไกรสีห์ กรรณสูต

ลาออกจากกรรมการกองทุน

4.  น.ส.สุรฬีร์ โหมานันท์

ลาออกจากกรรมการกองทุน

 

       โดยคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีมติแต่งตั้งกรรมการแทนคณะกรรมการซึ่งเกษียณและลาออกจำนวน 4 ท่านคือ

1.  นายบุญชู ดิเรกสถาพร

2.  นายประพันธ์ ฟักเทศ

3.  น.พ.เริงสันติ สุดดีพงศ์

4.  นางรัตนา มหารักษ์

   
       ในการดำเนินการในปี 2540 การบริหารกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การบริหารกองทุนประจำปี 2540 ได้รับผลตอบแทนเท่ากับ 9.37 %คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชุดปัจจุบัน จะดำเนินการไปจนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2542 เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับกองทุน และจะได้ดำเนินการแต่งตั้งและเลือกตั้งคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชุดใหม่ต่อไป

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (ฝ่ายบริหารการเงิน)

53 หมู่ 2 ถ.จรัญสนิทวงศ์ ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี อาคาร ท.100 ชั้น 2 ห้อง 226

ผู้รับผิดชอบข้อมูล:
นายมนัส เลาหบุตร (บช.10) โทร.65573,
นางพัชรินทร์ วรแสงศรีจำเริญ (บช.9 ) โทร.65572

ผู้ดูแลเว็บไซต์:
น.ส.พิทยนันท์ เย็นเป็นสุข (พช.6) โทร. 65537

จำนวนผู้เข้าชม :
(ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 )

ท่านสามารถรับชม Website ให้สวยงามด้วย
249137482 Firefox appicns ChromeGoogle Chrome

นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล กฟผ.